19 กุมภาพันธ์ 2551

PicLens - Extension เจ๋งมหาศาลของ Firefox

วันนี้จะเขียนสั้นๆ เพราะไม่มีเวลา 555 แต่เพราะเจ้านี้มันเจ๋งจริง เลยอยากบอก

คือเรื่องมันมีอยู่ว่าวันนี้เกิดไม่มีอะไรทำ (ซะงั้น จริงๆ มีสารนิพนธ์ให้เขียนทั้งเล่ม แต่อู้) เลยไปจิ้มๆ Extension ใหม่ๆ ของ firefox มาเล่น แล้วก็เจอเจ้านี้ครับ


PicLens


เจ๋งยังไงคือมันดูภาพในเว็บได้แบบนี้เลยครับ

Piclens 1.6 header

เอียงๆ แบบนี้แหละ แล้วเคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวล ซูมเข้าออกได้ ทำ slideshow ได้ด้วย

piclens slideshow

ใช้กับ picasa web, filckr ฯลฯ ประมาณนี้

ใครใช้ firefox แนะนำให้ลองในทันใด ส่วนใครให้ IE มันก็มีวิธีลงอยู่ แต่ไม่บอก เพราะไม่รู้ 555 ให้ไปดูในเว็บของมันเอง

แถมถ้าใครใช้ Wordpress สามารถนำมันไปเป็น plug-in ใช้กับเว็บตัวเองได้ด้วย

ว่าแล้วก็กลับไปทำภารกิจกู้ชาติต่อ บายๆ
... อย่าลืมเม้นต์กันด้วยเน้อ

ป้ายกำกับ:

14 กุมภาพันธ์ 2551

Valentine 2008 with Moo-Pook

วันนี้เป็นวันวาเลนไทน์ครับ ก็เลยจัดแจงหาของขวัญให้คุณนาย กว่าจะหาซื้อได้ก็เหนื่อยพอสมควรเพราะไม่ชินกับการซื้อของพวกนี้ (ปกติซื้อแต่อะไรที่เป็นคอมๆ อ่ะ) แอบไปซื้อมาเมื่อวันอังคาร เพราะกลัวว่าถ้าซื้อวันพุธคนมันจะเยอะ เดินทางยาก ในที่สุดก็ได้มา เป็นกุหลาบอบแห้ง (ที่ดูไม่เหมือนอบ) อยู่ในขวดแก้วปิด เก็บไว้ได้นาน 5 ปี (คนขายเค้าว่างั้น หวังว่าจะจริง)

แล้วก็อำคุณนายซะหน่อยว่ายังไม่ได้ซื้ออะไรเลย วันพุธไม่ได้ซื้ออะไรเลย เพราะขี้เหนื่อย ขี้เกียจออกไปหาของให้ 555 คุณนายก็งอน งอดแงดใหญ่ ว่าปีนี้ไม่ได้ของขวัญ (ปีที่ได้แล้วได้กุหลาบขาวกับเจ้าปุกๆ) ก็แอบขำ เหอๆ

แต่ก็ไม่ได้มีของขวัญอย่างเดียว เมื่อวันอาทิตย์ก็แอบไปซื้อแหวนมาให้ด้วย ^_^

วันนี้คุณนายก็เลยดีใจใหญ่ ยิ้มหน้าบานไม่หุบ เลยเอารูปมาให้ดู

ป้ายกำกับ:

13 กุมภาพันธ์ 2551

นิยายวิทยาศาสตร์

ช่วงนี้พอมีเวลาอยู่บ้างครับ แล้วก็จะจบการศึกษาแล้ว เลยยืมนิยายวิทยาศาสตร์จากห้องสมุดมาอ่าน (แบบว่าถ้าจบแล้ว ก็ยืมหนังสือจากห้องสมุดไม่ได้) ไม่ได้อ่านนิยายวิทยาศาสต์มาตั้งนานแล้ว

ผมเริ่มอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ประถมครับ จำได้ว่าตอนนั้นอ่านในนิตยสาร "สวนเด็ก" ซึ่งปิดตัวลงไปได้เป็นสิบปีแล้ว เป็นเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่แต่งโดยชัยคุบต์ ชอบอ่านมากๆ คิดว่ามันเหมาะกับเด็กดี สั้น กระชับ
เรื่องที่พอจำได้คือเรือง "นักเป่าขลุ่ยคนสุดท้าย" ที่ว่าด้วยการแข่งขันดนตรีระหว่างดวงดาวในระบบสุริยะ ที่แต่ล่ะดวงดาวงัดเอาเทคโนโลยีสุดยอดในการสร้างเสียงสีเสียงให้ประทับใจ แต่ตัวเอกของเรื่อง ก่อนแข่งกลับลงไปที่โลก แล้วก็เจอนักเป่าขลุ่ยคนสุดท้ายของโลก จึงได้เรียนวิชาขลุ่ย แล้วนำไปแข่งครับ
อีกเรื่องคือ "Dr. sun" คล้ายๆ หนังเรื่อง sunshine ในเรื่องคือมีนักวิทยาศาสตร์ไทยคนหนึ่งตรวจพบความผิดปกติของดวงอาทิตย์ แล้วประกาศให้โลกรู้ แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ จนเกิดเหตุที่ดวงอาทิตย์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามารบกวนระบบการสื่อสารของโลก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจากเชื่อ Dr.sun แต่เขาก็ประกาศให้โลกรู้เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือดวงอาทิตย์กำลังจะแตกดับ ทั่วโลกตกใจจึงถาม dr. sun ว่าจะทำอย่างไร เขาจึงคิดวิธีการโดยสร้างยานอวกาศขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ในตอนสุดท้าย dr.sun ควบคุมยานอวกาศออกไปคนเดียว ทั่วโลกคิดว่าเขาจะหนีไปคนเดียว แต่เปล่า Dr.sun กลับนำยานมุ่งไปยังดวงอาทิตย์ แล้วเข้าปะทะจนยานอวกาศแตกสลายหายไป พร้อม Dr.sun หลังจากนั้นก็ไม่มีเหตุอะไรเกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์อีก สุดท้ายคือ นักวิทยาศาสตร์ที่ทั่วโลกคิดว่าบ้า ได้สละชีวิตเพื่อปกป้องโลกเอาไว้ พร้อมกับทิ้งปัญหาไว้ว่า เขาทำอย่างไร ให้มนุษย์ได้คิดต่อไป

แต่หลังจากตอนเด็กๆ ผมไม่ค่อยได้อ่านนิยายวิทยาศาสตร์เท่าไหร่
จนมาตอนเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็ได้อ่านนิยายวิทยาศาสตร์อีกครั้งครับ

เมื่อตอนปีหนึ่ง ตอนที่ยังมีเวลาว่างๆ อยู่ ผมยืมนิยายวิทยาศาสตร์จากห้องสมุดมาอ่านราวๆ สิบเล่ม คือ The end of eternity, สถาบันสถาปนาเล่ม 1-7, นักสืบหุ่นยนต์, แล้วก็ rama1 ครับ
ทำให้ผมได้รู้จัก Isaac Asimov มากขึ้น แล้วก็ชอบนิยายวิทยาศาสตร์ของเขามาก

Cover illustration featuring Hari Seldon from a later Bantam Books edition

โดยเฉพาะเรื่องสถาบันสถาปนา ที่แต่งได้ยังไงกับ กับเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันเป็นแสนๆ ปี ตั้งแต่ยุคอดีต ไปจนอนาคตที่ไกลโพ้น แล้วมีความสัมพันธ์โยงหากันไปเรื่อยๆ ระหว่างมนุษย์ และผู้อยู่เบื้องหลังคือ หุ่นยนต์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเมืองที่เข้มข้น ปรัชญา และอื่นๆ อีกมากมาย (แต่ยังไม่ได้อ่านเล่ม 8-10 เพราะ asimov ไม่ได้แต่ง และอ่านยาก คาดว่าจะอ่านเร็วๆ นี้)

นิยายหลายเล่ม จากหลายชุดที่ต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ และยาวนาน ซึ่งผมคงไม่มีปัญญาอ่านได้ทั้งหมดนี้ เพราะความรู้ภาษาอังกฤษเท่าหางอึ่ง จะอ่านภาคอังกฤษก็ไม่ได้ อ่านภาคไทยก็หายาก แล้วก็มีแปลไม่ครบทุกเล่ม เศร้าจริงๆ

จนมาเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้อ่านนิยายวิทยาศาสตร์อีกครั้ง เล่มแรกคือ I,Robot (อ่านจากบริษัท shownolimit หุๆ) อ่านแล้วก็ทำให้เข้าใจเรื่องราวหุ่นยนต์ในชุดสถาบันสถาปนามากขึ้น
ต่อมาก็ได้อ่าน ข้อคือพระเจ้า หรือ The Gods Themselves (หนังสือเก่ามั่กๆ)



เล่มนี้ก็สนุกครับ แต่อ่านยากนิดหนึ่ง เพราะเรื่องประกอบด้วย 3 องค์ และก็ไม่เกี่ยวกันเท่าไร (แต่เชิงโครงสร้างของเรื่องแล้วเกี่ยวกัน) เวลาขึ้นองค์ใหม่ ก็ต้องรู้จักตัวละครกันใหม่เลย โดยเฉพาะองค์ที่สองที่กว่าจะอ่านเข้าใจ ก็เมื่อกำลังจะอ่านจบองค์นี้อยู่แล้ว จนต้องอ่านซ้ำอีกรอบถึงจะเข้าใจ เพราะเรื่องเกิดขึ้นบนจักรวาลข้างเคียง ไม่ใช่โลกของเรา สิ่งมีชีวิตก็ไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นสิ่งมีชีวิตแบบ triad เหอๆ
แต่อ่านจบก็เข้าใจเลยว่าทำไมเล่มนี้ได้รับรางวัลเนบิวล่า เพราะเรื่องมันสุดยอดจริงๆ

ต่อมาที่กำลังอ่านอยู่นี้คือ fantastic voyage 2 ไว้ถ้าอ่านจบแล้วว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังครับ

มาถึงตรงนี้ ผมก็เศร้าใจนิดๆ ที่ทำไมไม่ค่อยมีนิยายวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ภาษาไทยออกมาให้อ่านเท่าไหร่เลย เห็นแต่นิยายแฟนตาซี ออกมาเกลื่อนเมือง ค่าย orbit ก็ไม่ออกมาใหม่อีก สงสัยขายไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนี้ คาดว่างานสัปดาห์หนังสือครั้งหน้า ผมต้องไปเหมาตระกูลสถาบันสถาปนามาเก็บซะแล้ว ก่อนที่จะไม่มีให้เก็บ เหอๆ

แม้ว่าผมจะมีพื้นความรู้วิทยาศาสตร์อยู่น้อย เพราะไม่ได้เรียนคณะทางวิทยาศาสตร์ (แต่ก็เรียนสายวิทย์มานะ) ก็ยังสนุกกับนิยายพวกนี้ได้ (แต่ก็งงๆ บ้างเวลามันอธิบายกัน อย่างเรื่องแรงโมเลกุล บราวเนียน ฯลฯ ลืมไปหมดแล้ว ก็ข้ามๆ ตรงนี้ไป 555) ผมก็คิดว่าหลายๆ คนก็น่าจะสนุกกับนิยายวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน ถ้าเบื่อๆ นิยายแฟนตาซีที่มันสร้างทุกอย่างเพียงตวัดปากกา + เฟ้อฝันอีกหน่อย มาลองอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ไม่ใช่แค่เขียนเก่ง จิตนาการดีถึงจะไปรอด แต่ต้องมีพื้นวิทยาศาสตร์ และเหตุผลที่ดีด้วย
.
..
...
ชักอยากเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เองซักเรื่อง เอาเกี่ยวกับคอมนี้แหละ ความรู้เราพอมีอยู่แล้ว เหอๆ เอาไว้ว่างงานจะลองเขียนให้อ่านดูนะครับ (ตอนนี้เผาบทความและสารนิพนธ์ เฉพาะเดือนนี้ก็เขียนไป 4 บทความแล้ว)

อย่าลืมแสดงความคิดเห็นด้วยเน้อ

ป้ายกำกับ: