06 เมษายน 2551

สารพันรูปแบบไฟล์เพลง ภาค Lossless พร้อมที่โหลด Encoder

การบีบอัดแบบ Lossless
ผมเขียนมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่าบทความนี้มันยาวจังเลย คุณผู้อ่านจะยังอยู่กับผมถึงตรงนี้รึปล่าวนะ แล้วทั่น บก. จะหั่นบทความผมไปเยอะรึปล่าวก็ไม่รู้ 555 ทำตัวไม่สนใจแล้วเล่าเรื่องต่อ เรามาถึงส่วนของ Lossless แล้วครับ เป็นส่วนของผู้รักเสียงเพลงอย่างแท้จริง ในส่วนนี้ผมจะไม่พูดถึงคุณภาพเสียงของรูปแบบต่างๆ นะครับ เพราะแบบ Lossless จะให้คุณภาพเสียงเหมือนต้นฉบับในทุกรูปแบบไฟล์ต่างๆ แต่จุดที่ทำให้แต่ละรูปแบบแตกต่างกันจะอยู่ที่ความสามารถในการบีบอัด และการรองรับจากอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ งั้นเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
FLAC (Free Lossless Audio Codec) (.flac)
เป็นรูปแบบของ Lossless ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดตัวหนึ่งครับ ด้วยความที่เป็นรูปแบบฟรี ไม่มีค่าใช้สิทธิ์ใดๆ แล้วยังเป็น open source อีกด้วย ในต่างประเทศ FLAC จึงได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ข้อดีของมันนอกจากที่ฟรีแล้ว ยังทำงานได้รวดเร็ว แล้วก็มีโปรแกรมและอุปกรณ์รองรับมากมาย เช่น Winamp รุ่น 5.5 ก็สามารถเปิด FLAC และ rip เพลงเป็น FLAC ได้โดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม หรือ iPod ก็รองรับ แต่จะต้องใช้ fireware พิเศษที่ชื่อว่า rockbox (ตัวเดียวกับที่ทำให้รองรับ ogg Vorbis) ก็จะเล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ แต่ข้อเสียของ FLAC ก็อยู่ที่ความสามารถในการบีบอัดเพลงน้อยกว่ารูปแบบอื่นๆ อย่าง monkey’s audio อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก
FLAC รองรับ sample rate ตั้งแต่ 1 Hz ถึง 1048.57 kHz ครับ bit depth ก็ใช้ได้ถึง 32 bit ครับ ปัจจุบัน FLAC อยู่ที่รุ่น 1.2.1 แล้วก็ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของ xiph.org ไปแล้ว บางทีจึงอยู่ใน container OGG ได้

WavPack (.wv)
เป็นรูปแบบฟรีคล้ายๆ กับ FLAC นะครับ แต่เด่นกว่าตรงที่สามารถทำไฟล์แบบ Hybrid/lossy ได้ ก็คือมันสามารถสร้างไฟล์แบบ lossy ได้ พร้อมกับไฟล์อีก 1 ไฟล์ที่เรียกว่า correction file เราสามารถนำไฟล์แบบ lossy ที่มันสร้างไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องมี correction file แต่ก็จะได้คุณภาพเสียงแบบ lossy ถ้าเราอยากได้ระดับ lossless เราก็เอา correction file ไปใส่ไว้ในห้องของ lossy file นั้น โปรแกรมเล่นเพลงก็จะจัดการรวมกันให้เป็นแบบ lossless ครับ แต่ข้อเสียของ WavPack ก็คืออุปกรณ์ที่รองรับยังไม่มากเท่า FLAC ครับ การใช้งานจึงยังไม่กว้างเท่า FLAC
WavPack รองรับ sample rate ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 16777.216 kHz ครับ ส่วน bit rate ของ lossless จะเป็น VBR แต่ในส่วนของ lossy จะใช้ที่ 192 kbps ครับ

Apple Lossless (ALAC) (.mp4, .m4a)
Apple พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นมาเพื่อใช้กับระบบของ Apple เช่น iPod จึงมีแต่ iTunes ที่สร้างไฟล์ชนิดนี้ได้ครับ ข้อดีของ ALAC คือการที่ใช้กับ iPod ได้สมบูรณ์ครับ ความสามารถก็ไม่ได้ดีเด่นไปกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ข้อเสียคือยืดหยุ่นน้อยเพราะ Apple ไม่ปล่อยชุดของโปรแกรมถอดรหัส ALAC ให้กับผู้พัฒนา software อื่นๆ จึงโปรแกรมไม่กี่โปรแกรมที่เล่นไฟล์ชนิดนี้ได้ หลักๆ คือ iTunes ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ที่เล่นได้อย่าง foobar2000 ก็เพราะมีคนไปวิจัยโค้ดที่ apple ใช้แล้วก็ reverse-engineered จนได้โปรแกรมถอดรหัสออกมาครับ ซึ่งก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่ แล้ว ALAC รองรับ sample rate แค่ 44,100 และ 48,000 Hz สรุปคือเหมาะเฉพาะผู้ใช้ iPod เท่านั้น

Windows Media Audio Lossless (.wma)
แหะๆ ขึ้นไปอ่านรายละเอียดที่ WMA lossless ในส่วนของ lossy ครับ

Monkey’s audio (.ape)
เป็นอีกรูปแบบไฟล์ที่เห็นกันบ้างบนอินเตอร์เน็ตครับ แต่ไม่นิยมเท่า FLAC ข้อดีของมันก็คือบีบอัดเสียงได้เล็กกว่ารูปแบบอื่นๆ แต่ว่าความเร็วจะไม่สูงเท่า FLAC หรือ WavPack แล้วจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับก็น้อยกว่า FLAC ครับ ซึ่งไฟล์ชนิดนี้ก็ใช้เปิดให้ใช้ได้ฟรีเช่นกันครับ เราสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของไฟล์ชนิดนี้ได้ที่นี้ครับ http://www.monkeysaudio.com/


เปรียบเทียบ Lossless


เปรียบเทียบความสามารถของไฟล์รูปแบบต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นว่า monkey จะให้ขนาดไฟล์ที่เล็กที่สุดครับ (ดูในช่อง Compression) ก็คือเหลือ % ของไฟล์ต้นฉบับน้อยที่สุดครับ แล้วก็สามารถเปรียบเทียบความสามารถต่างๆ เช่นการใช้ ReplayGain ว่าไฟล์ประเภทไหนที่รองรับ RG ได้ หรือความสามารถ Hybrid/Lossy ได้จากตารางนี้ครับ
สรุปการใช้ Lossless นะครับ สำหรับคนทั่วๆ ไปที่ต้องการใช้ Lossless ผมแนะนำให้ใช้ FLAC เพราะมีโปรแกรมและอุปกรณ์จำนวนมากรองรับ จนสามารถนำไฟล์นี้ไปใช้งานได้แพร่หลายที่สุดครับ ส่วนคนที่จะใช้ไฟล์กับอุปกรณ์ที่รองรับไฟล์อื่นๆ อย่าง Apple Lossless หรือ Windows media audio lossless ก็ใช้ไฟล์รูปแบบนั้นๆ ครับ

ส่วนถ้าใครยังไม่มีตัว Encoder ต่างๆ ที่ผมว่ามา ก็เข้าไปดูได้ใน www.rarewares.org ยกเว้น
WMA ที่ใช้ Windows media player ดาวน์โหลดจาก www.microsoft.com
AAC
Nero AAC ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.nero.com/ena/nero-aac-codec.html
Apple AAC ดาวน์โหลด iTunes จาก www.apple.com ครับ
Apple Lossless ก็ใช้ iTunes เช่นกันครับ

ส่วนวิธีการใช้งาน ผมขอยกยอดเอาไว้เขียนในบทความเรื่อง foobar2000 คราวหน้านะครับ คาดว่าเร็วๆ นี้ครับ
------------------

ก็ติดตามบทความเรื่อง foobar2000 อย่างละเอียดในนิตยสาร PCtoday เร็วๆ นี้ครับ (ดองนานมาก)


สุดท้าย อย่าลืม comment เน้อ ใครอ่านแล้วเข้ามา comment ให้หมด อยากรู้ความเห็น หุๆ ไม่งั้นไม่เอาบทความอื่นๆ มาลงให้แล้วนะ กว่าจะแปลงจากต้นฉบับลง blog ได้มันเหนื่อยเหมือนกันนะ

ป้ายกำกับ:

7 ความคิดเห็น:

เวลา 06 เมษายน, 2551 20:53 , Blogger Ripmilla กล่าวว่า...

เขียนได้ละเอียดดีมาก
แต่เวลาเขียนบทความ อย่าไปกดกันให้ใครเข้า Rep เลย
เราต้องดึงให้เขามาร่วมออกความเห็นกับเราให้ได้ต่างหากนะน้องรัก

 
เวลา 06 เมษายน, 2551 22:13 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆคับ

ถามหน่อย
แบบนี้ถ้าผมแปลง FLAC เป็น ALAC โดยใช้ DBpoweramp ไฟล์ที่ได้มันจะไม่ค่อยสมบูรณ์ป่ะคับ

 
เวลา 07 เมษายน, 2551 14:01 , Blogger Eka-X กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่โก๋ จะเอาไปปรับปรุง หุๆ
ผมก็พูดไปงั้นแหละครับ จะเป็นแนวงอนซะมากกว่า
เอา เข้าจริงถ้ามีเวลาก็เขียนลงเรื่อยๆ ส่วนแปลงบทความลงต้องใช้เวลามาก เพราะบทความแต่ล่ะตัวไม่ใช่สั้นๆ รูปก็เยอะ เลยเหนื่อยเป็นพิเศษ
แต่ถ้ามีคนเม้นต์มันจะกำลังใจแปลงดีขึ้น

ตอบ คนที่สองนะคับ เรื่องนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะส่วนตัวไม่เคยใช้ ALAC ครับ ลองดูครับ ว่ามันเล่นกับ iTunes และ iPod ได้รึปล่าว ถ้าได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับ

 
เวลา 09 กันยายน, 2551 22:43 , Anonymous ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พอดีกำลังอยากรู้ ผ่านมาเจอได้ความรู้ดีมากเลยครับ

เป็นกำลังใจให้เขียนอะไรดีๆต่อไปครับ

โอ๊ะ อ.ศุภเดชก็เข้ามาเมนท์ด้วยแฮะ..^ ^

 
เวลา 08 กุมภาพันธ์, 2552 17:16 , Blogger Unknown กล่าวว่า...

อ่านใน pctoday ตอนนี้ใช้ foobar2000 แทน winamp ไปแล้ว

 
เวลา 18 กุมภาพันธ์, 2553 00:05 , Blogger zAw กล่าวว่า...

ตามมาอ่านจ้า

 
เวลา 09 มีนาคม, 2556 08:34 , Anonymous yaihifi กล่าวว่า...

...ALAC รองรับ sample rate แค่ 44,100 และ 48,000 Hz สรุปคือเหมาะเฉพาะผู้ใช้ iPod เท่านั้น...


เป็นบทความที่ดีมากครับ

แต่

M4a ผมลองเช็คแล้วสามารถรองรับได้มากกว่า 48,000 Hz นะครับ

โดยการเปิด 88.2 kHz M4a ด้วย VLC แล้วดูที่ Media Infomation จะเห็นว่าข้อมูลรองรับได้มากกว่า 48 kHz

 

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก